fbpx

อโกด้า: รัฐบาลในภูมิภาคเอเชียควรเตรียมทางเลือกกักตัวที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นให้นักท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมการเริ่มแผนฉีดวัคซีน

Agoda CEO John Brown

ความเชื่อมั่นในการเริ่มใช้วัคซีนโควิด-19 การหารือกันระหว่างหลายภาคส่วนเรื่องวัคซีนพาสปอร์ต (COVID-19 passports) และการประกาศเปิดตัวสถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือก (alternative state quarantine หรือ ASQ) ส่งผลให้ผู้คนค้นหาเกี่ยวกับ การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้น ตามข้อมูลของอโกด้า แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการเดินทางท่องเที่ยวระดับโลก

ข้อมูลการค้นหาของอโกด้า ชี้ให้เห็นถึงสัญญาณของการฟื้นตัว รวมถึงมุมมองเชิงบวกต่อการเดินทางระหว่างประเทศที่เริ่มดูกลับมาเป็นปกติของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย โดยออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย เป็น 4 ประเทศที่มีจำนวนจุดหมายปลายทางต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในลำดับจุดหมายปลายทาง 30 อันดับแรกที่ถูกค้นหามากที่สุด ของเดือนมีนาคมปี 2564 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมปี 2563 อีกทั้งนักท่องเที่ยวจาก 4 ประเทศนี้ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อการเดินทางระหว่างประเทศที่เริ่มดูกลับมาเป็นปกติ เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวชาวจีน ไต้หวัน และสิงคโปร์ อย่างไรก็ตามมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยนั้นยังคงไม่มีจุดหมายปลายทางต่างประเทศ ในลำดับจุดหมายปลายทาง 30 อันดับแรกที่ถูกค้นหามากที่สุด ของทั้งเดือนมีนาคมปี 2564 และเดือนธันวาคมปี 2563 แต่น่าสนใจว่าไทย และฟิลิปปินส์นั้นเป็น 2 จุดหมายปลายทางต่างประเทศที่ติดลำดับจุดหมายปลายทาง 30 อันดับแรกที่ถูกค้นหามากที่สุด ของหลายประเทศ/เขตปกครองตนเอง โดยกรุงเทพฯติดลำดับนี้ใน 6 จากทั้งหมด 11 ประเทศ/เขตปกครองตนเอง

ประเทศ/เขตปกครองตนเอง จุดหมายปลายทางต่างประเทศ ในลำดับจุดหมายปลายทาง 30 อันดับแรกที่ถูกค้นหามากที่สุด (มีนาคม 2564) จุดหมายปลายทางต่างประเทศ ในลำดับจุดหมายปลายทาง 30 อันดับแรกที่ถูกค้นหามากที่สุด (ธันวาคม 2563)
จีน 10

(เขตบริหารพิเศษฮ่องกง, เขตบริหารพิเศษมาเก๊า, กรุงเทพฯ, ดูไบ, สิงคโปร์, โตเกียว, เอดินบะระ, ลอนดอน, เซบู, เกาะโบราเคย์)

10

(กรุงเทพฯ, เขตบริหารพิเศษมาเก๊า, เขตบริหารพิเศษฮ่องกง, สิงคโปร์, ภูเก็ต, โตเกียว, มัลดีฟส์, ลอนดอน, ไทเป, พัทยา)

สิงคโปร์ * (ลำดับจุดหมายปลายทาง 10 อันดับแรกที่ถูกค้นหามากที่สุด) 9

(กัวลาลัมเปอร์, กรุงเทพ, มะนิลา, เกาะโบราเคย์, พัทยา, ฮ่องกง, ภูเก็ต, บาหลี, ปีนัง)

9

(กรุงเทพฯ, กัวลาลัมเปอร์, บาหลี, ดูไบ, ปีนัง, พัทยา, มะนิลา, ฮ่องกง, เขาใหญ่)

ไต้หวัน 8

(โตเกียว, ฮ่องกง, เกียวโต, เกาะเชจู, โอซาก้า, กรุงเทพฯ, โซล, ซัปปาโร)

8

(โตเกียว, เกียวโต, กรุงเทพฯ, ฮ่องกง, โอซาก้า, มัลดีฟส์, สิงคโปร์, บาหลี)

ออสเตรเลีย 4

(บาหลี, พัทยา, กรุงเทพฯ, มะนิลา)

1

(บาหลี)

เกาหลีใต้ 4

(กรุงเทพฯ, ลาสเวกัส, โตเกียว, บาหลี)

1

(กรุงเทพฯ)

ญี่ปุ่น 3

(กรุงเทพฯ, มะนิลา, พัทยา)

1

(กรุงเทพฯ)

อินโดนีเซีย 1

(เก็นติ้งไฮแลนด์ – มาเลเซีย)

0
มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย 0 0

 

นอกเหนือจากผลการค้นหาดังกล่าวที่เพิ่มขึ้น ข้อมูลของอโกด้ายังแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการจองห้องพักของนักท่องเที่ยวเริ่มกลับมาเป็นปกติเหมือนในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกครั้ง เพราะตัวบ่งชี้อย่าง ระยะเวลาการจองห้องพักล่วงหน้าและราคา ไม่ได้ลดลงมากและเร็ว เหมือนในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูร้อนของปี 2563

“ภูมิภาคเอเชียเริ่มมีการใช้วัคซีนแล้ว แต่ความรวดเร็วของการฉีดให้ประชากรในแต่ละประเทศ/เขตปกครองตนเองนั้นแตกต่างกัน เช่น สิงคโปร์จะมีฉีดวัคซีนให้ประชากรทั้งหมดภายในปี 2564 ส่วนญี่ปุ่น ไทย และเวียดนามน่าจะทำได้ในปี 2565 ดังนั้นกลุ่มเศรษฐกิจที่พึ่งการท่องเที่ยวเป็นอย่างมากเหล่านี้ ควรพิจารณาหาวิธีเร่งให้สถานการณ์กลับเป็นปกติเร็วขึ้น รัฐบาลต้องคิดวิธีใหม่ ๆ สำหรับการเปิดประเทศ/เขตปกครองตนเอง ไปพร้อมกับหาความสมดุลระหว่างการต้องการความปลอดภัยของคนในประเทศ รวมถึงชาวต่างชาติ และสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ การกักตัวยังคงเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางระหว่างประเทศในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นการจัดเตรียมสถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือก เช่น ในไทยและฮ่องกง อาจเป็นทางออกที่สอดคล้องไปกับการเริ่มใช้วัคซีนโควิด-19 พันธมิตรองค์กรด้านเทคโนโลยีที่สามาถขับดำเนินการต่าง ๆ ได้เร็ว สามารถช่วยให้รัฐบาลจัดการกับตัวแปรทางเศรษฐกิจที่ซับซ้อนได้”

โซลูชั่น ASQ

ในเมื่อนักท่องเที่ยวมีความพร้อมออกเดินทางมากขึ้นกว่าที่ผ่าน การร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ และภาคธุรกิจจึงสำคัญอย่างยิ่ง ขณะที่ทั่วโลกกำลังพากันมุ่งหน้าสู่การฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของการเดินทาง และอุตสกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งทั้งสองเป็นเสาหลักที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นับเป็น 10% ของ GDP ของภูมิภาคในปี 2562 การเดินทางระหว่างประเทศจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความเป็นจริงใหม่ (new reality) โดยมีมาตรการด้านต่าง ๆ เช่น การตรวจหาเชื้อโควิด-19 อย่างสม่ำเสมอ ใบรับรองทางด้านสุขภาพ วัคซีนพาสปอร์ต และอีกมาก ช่วยอำนวยความสะดวกให้การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศของผู้คนเป็นไปอย่างปลอดภัย การกักตัวก็เป็นอีกมาตรการสำคัญหนึ่ง ทั้งรัฐบาลไทย และฮ่องกงต่างมองหาวิธีทำให้นักท่องเที่ยวยอมรับการกักตัวมากขึ้น โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับบริษัทเอกชนเพื่อให้การสนับสนุนด้านโซลูชั่นเทคโนโลยี

ไทยเป็นประเทศแรกที่เปิดตัว ASQ โดยกระทรวงสาธารณสุข และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ร่วมมือกับอโกด้าในการนำโซลูชั่นเทคโนโลยีของอโกด้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้ชาวไทยในต่างประเทศ และชาวต่างชาติที่ต้องการเดินทางกลับประเทศไทยสามารถเลือกสถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือกได้ตามความต้องการ ผ่านแฟลตฟอร์มที่อโกด้าสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ จากการที่รัฐบาลไทยประกาศเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนกรกฎาคมปี 2564 แฟลตฟอร์มดังกล่าวของอโกด้าจะมอบความยืดหยุ่นสำหรับการเลือกที่พัก ระยะเวลาการกักตัว และอื่น ๆ ให้กับนักท่องเที่ยวอย่างสะดวกสบาย

คุณจอห์น บราวน์, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร, อโกด้า สรุปว่า “เราเห็นสัญญาณของความหวังขณะที่หลายประเทศ/เขตปกครองตนเองเริ่มประกาศเปิดพรมแดนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ผ่านโครงการร่วมมือ เช่น โครงการระหว่างไต้หวันกับปาเลา และทราเวลบับเบิล (travel bubbles) ระหว่างออสเตรเลียและสิงคโปร์ ปัจจุบันหลายประเทศ/เขตปกครองตนเองกำลังพิจารณาทางเลือกเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ASQ เป็นโซลูชั่นที่จะช่วยให้การท่องเที่ยวระหว่างประเทศกลับมาเป็นปกติได้เร็วขึ้น ทำให้นักเดินทางสามารถเลือกสถานที่กักตัวที่เหมาะกับพวกเขาได้ ทั้งนี้อโกด้ากำลังทำงานร่วมกับรัฐบาล และพาร์ทเนอร์ที่พักอย่างใกล้ชิด เพื่อหาโซลูชั่นเทคโนโลยีที่จะส่งเสริมสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้ได้อย่างรวดเร็ว”

ประเทศไทย

  • ไม่มีจุดหมายปลายทางต่างประเทศติดลำดับจุดหมายปลายทาง 30 อันดับแรกที่ถูกค้นหามากที่สุด ของทั้งเดือนมีนาคมปี 2564 และเดือนธันวาคมปี 2563
  • จุดหมายปลายทางในประเทศยอดนิยม มีพัทยา, หัวหิน/ชะอำ, กรุงเทพฯ, ภูเก็ต และเขาใหญ่
  • กรุงเทพฯ ติดลำดับจุดหมายปลายทาง 30 อันดับแรกที่ถูกค้นหามากที่สุด ของ 6 ประเทศ/เขตปกครองตนเอง